Link Copied!

ทำไม ‘บุนเดสลีกา’ พัฒนาฝีเท้าแข้งพรสวรรค์ได้ดีกว่า ‘พรีเมียร์ลีก’ ?

เวลานี้ บุนเดสลีกา ไม่เพียงแฟนบอลที่หลั่งไหลเข้าชมเกมในสนาม แต่ยังเป็นจุดหมายของแข้งดาวรุ่งอังกฤษและชาติอื่นทั่วทวีปยุโรป ต้องการย้ายมาเล่นที่เยอรมนีเพื่ออนาคต

สโมสรบุนเดสลลีกาลงทุนโครงการพัฒนาเยาวชนของตัวเอง 1,500 ล้านยูโรนับตั้งแต่ปี 2002 เป็นต้นมา แต่ยังคงมีเยาวชนต่างชาติเดินทางเข้ามาหาโอกาสลงสนามในลีกแห่งนี้ ขณะเดียวกันสโมสรต่างๆ พร้อมให้โอกาสลงเล่นในทีมชุดใหญ่เช่นกัน

ระหว่างปี 2009-2017 อายุเฉลี่ยของผู้เล่นบุนเดสลีกาอยู่ที่ 25.84 ปี น้อยกว่า ลีกชั้นนำอย่าง ฝรั่งเศส, สเปน, อังกฤษ และ อิตาลี

นักเตะอายุน้อยอย่าง คริสเตียน พูลิซิซ, เออร์ลิง ฮาลันด์, อุสมาน เดมเบเล, เจดอน ซานโช ทั้งหมดล้วนสร้างชื่อและพิสูจน์ตนเองในเวทีบุนเดสลีกา

หากคุณดีพอ คุณจะได้โอกาสได้ลงเล่นในลีกสูงสุดของเยอรมนี นี่จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่นักเตะอายุน้อยไม่ว่าจะเป็น ไค ฮาแวร์ตส์, อัลฟอนโซ เดวีส์, ดาโยต์ อูปาเมกาโน และอีกหลายคนมีชื่อเสียงโด่งดังทั้งที่อายุยังไม่ถึง 21 ปี ซึ่งผลผลิตทั้งหมดขับเคลื่อนด้วยกฏ “โฮมโกรน เพลเยอร์ส”

10 ปีที่ผ่านมา บุนเดสลีกา ร่วมมือกับ สมาพันธ์ฟุตบอลเยอรมนี พัฒนาลีกทั้งระบบจากทีมชุดใหญ่ลงไปถึงอะคาเดมีสโมสรที่เป็นสถาบันเพาะพันธุ์แข้งสายเลือดใหม่ จนทำให้บรรลุเป้าหมายในปัจจุบัน โดยมีการใช้จ่ายเงินซื้อนักเตะน้อยลง และสามารถป้อนนักเตะเยอรมันคุณภาพสู่ทีมชาติ ประสบความสำเร็จในรายการของทวีปยุโรปและระดับโลก

โดยใน 23 รายชื่อขุนพลอินทรีเหล็ก ชุดฟุตบอลโลก 2010 ที่แอฟริกาใต้ มีถึง 19 คนเติบโตจากทีมเยาวชน
บุนเดสลีกา และอีก 4 คนจากลีกาสอง

บุนเดสลีกา : ระบบแมวมองและพัฒนาเยาวชน

สถิติบ่งชี้ว่า บุนเดสลีกา คือสถานที่เหมาะสมที่สุดสำหรับเริ่มต้นอาชีพ ดาวรุ่งพรสวรรค์จากหลากหลายชาติแจ้งเกิดที่นี่ ขณะที่ สเปน และ อังกฤษ มีข้อจำกัดเรื่องโควตาต่างชาติ ตรงข้ามกับ บุนเดสลีกา ที่เปิดโอกาสเต็มที่ แต่ทุกคนต้องเรียนภาษาเยอรมัน แม้สโมสรอังกฤษชั้นนำกว้านซื้อดาวรุ่งฝีเท้าดีเข้าสังกัด แต่เด็กเหล่านั้นไม่ค่อยได้รับโอกาสจนต้องออกไปเล่นกับทีมที่เล็กกว่าในประเทศหรือไม่ก็ออกไปต่างแดน

โดยในรุ่นของ มัทส์ ฮุมเมลส์, เมซุต โอซิล หรือ เยโรม บัวเต็ง คือผลผลิตชั้นยอดของลีกสูงสุดเยอรมนี ไม่มีใครดีกว่าพวกเขา

พรีเมียร์ลีก : เงินอยู่เหนือพรสวรรค์

ทีมอย่าง แมนเชสเตอร์ ซิตี เน้นลงทุนซื้อนักเตะมากกว่าพัฒนาดาวรุ่ง ที่ผ่านมามีเพียง ฟิล โฟเดน ที่ทะลุขึ้นมาจากอะคาเดมี ทำให้นักเตะอย่าง เจดอน ซานโซ
ต้องระเห็จไปอยู่กับ โบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ หรืออีกหลายคนไปลีกเบลเยียม และลงไปเล่นลีกระดับล่าง

แข้งบุนเดสลีกาในเวทีนานาชาติ

ในศึกยูโร 2008 รอบสุดท้าย ทุกทีมยกเว้น สเปน ล้วนมีนักเตะจากบุนเดสลีกา และเมื่อรวมกับนักเตะทีมชาติเยอรมนี ส่งผลให้ทัวร์นาเมนท์ดังกล่าวมีตัวแทนจากลีกเยอรมันมากที่สุด

12 นักเตะอินทรีเหล็กเติบโตมาจากอคาเดมีของบุนเดสลีกา ซึ่งเป็นผลสำเร็จจากความร่วมมือระหว่างสหพันธ์ฟุตบอลเยอรมัน กับ สโมสรต่างๆ ตรงข้ามกับ พรีเมียร์ลีก ,สมาคมฟุตบอลอังกฤษ และ ฟุตบอลลีก ที่มีความเห็นแตกต่างอย่างต่อเนื่อง

บุนเดสลีกา ลงทุนกับอะคาเดมี 80 ล้านยูโร ขณะที่ อังกฤษ จ่ายเงินไป 95 ล้านยูโร แต่ผลที่ได้กลับตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิง มีเยาวชนที่เข้าฝึกฟุตบอลตั้งแต่ 9 ขวบเพียงแค่ 1 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่สามารถก้าวขึ้นมาสู่ลีกอาชีพอังกฤษ ขณะที่เยอรมนีสร้างยอดนักเตะอย่าง มาร์โค รอยส์, มาริโอ เกิทเซอ, โทนี โครส และ โธมัส มุลเลอร์

โค้ชหนุ่มพลิกโฉมการฝึกสอน

ไม่เพียงเด็กหนุ่มที่ได้โอกาสเฉิดฉายในบุนเดสลีกา บรรดาสโมสรเยอรมนียังเลือกใช้งานโค้ชประสบการณ์น้อยเลื่อนชั้นขึ้นมาทำงานพัฒนาเยาวชนตั้งแต่ระดับล่างจนสู่ทีมชุดใหญ่ ตัวอย่างที่เด่นชัดคือ ยูเลียน นาเกิลส์มันน์ เทรนเนอร์อายุเพียง 32 ปีที่ก้าวจาก ฮอฟเฟนไฮม์ ไปต่อที่ ไลป์ซิก และ บาเยิร์น มิวนิค

ขณะที่ โบรุสเซีย มึนเชนกลัดบัค แต่งตั้ง มาร์โค โรเซอ ซึ่งโค้ชวัย 43 ปี สร้างทีมพลังหนุ่มด้วยการเล่นเกมรุกเอนเตอร์เทน จนขึ้นมาท้าทายตำแหน่งท็อปโฟร์

Total
0
Shares