“ผมไม่ใช่พวกเหยียดเชื้อชาติ และ ผมไม่สนับสนุนอุดมการณ์ของลัทธิฟาสซิสต์
แม้ผมเป็นฟาสซิสต์ แต่ผมไม่มีวันเหยียดเชื้อชาติ”
เปาโล ดิ คานิโอ กับการทำท่าสนับสนุนนาซีส่งไปยังแฟนบอลตอนเล่นให้ลาซิโอ ซึ่งเป็นสโมสรที่สนับสนุนลัทธิฟาสซิสต์
เขายังสักชื่อเช่นของ เบนิโต มุสโสลินี อดีตผู้นำลัทธินี้ของอิตาลีเอาไว้บนแขนด้วย
ดิ คานิโอ เคยออกมาอธิบายเรื่องการเป็นฟาสซิสต์เอาไว้ว่า ตนเองเชื่อในความเป็นฟาสซิสต์ และ รับรู้ถึงคุณค่าของตนเอง
แต่เขาไม่ต้องการทำร้ายใคร และ ยอมรับได้ถ้าหากจะมีใครมาโจมตีตนเอง แต่จะไม่มีวันยอมให้ใครมาแตะต้องหรือกล่าวหาสิ่งที่ครอบครัวของเขาสอนสั่ง เพราะนั่นเป็นคุณค่าที่จะไม่มีวันให้ใครมาทำลาย
เขาจะไม่ทำร้ายใคร หรือ ไม่มีทางไปเหยียดเชื้อชาติใคร แต่ถ้าไปทำหรือพูดจนทำให้ใครรู้สึกเจ็บปวด เขายินดีขอโทษ
สิ่งเหล่านั้นไม่ได้มาจากคำพูดของเขา แต่มันเกิดจากเรื่องราวที่เป็นความแตกต่างระหว่างกัน
สุดท้าย ดิ คานิโอ ถูกปรับเงิน และ ถูกลงโทษห้ามลงสนาม 2 นัด
ผู้เขียนมีความเชื่อว่านอกจากการที่ฟีฟ่าไม่ต้องการให้การเมืองมายุ่งกับฟุตบอล เพื่อให้ฟุตบอลปราศจากการครอบงำแล้ว ฟีฟ่ายังไม่ต้องการให้นักฟุตบอล หรือ สโมสรฟุตบอลไปยุ่งกับการเมือง เพื่อเป็นการงดสร้างความขัดแย้ง และ งดการเลือกข้าง
แต่ทว่าฟีฟ่าจะไม่มีวันครอบงำความเชื่อของคนได้เลย เพราะตราบใดที่ความเชื่อยังปนอยู่กับทั้ง การเมือง และ กีฬา
เคสสโมสรในภาพนี้จึงเป็นอันเข้าใจได้ และ ก็เข้าใจได้อีกเช่นกันถ้าจะสร้างความขัดแย้งให้เกิดขึ้นในอีกมุมหนึ่งได้
รวมทั้งถ้าหากเกิดบทลงโทษจากกรณีนี้ขึ้น ก็เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ และ ยังสามารถเข้าใจได้อีกเช่นกันถ้าบทลงโทษนั้นจะสร้างความขัดแย้งขึ้นด้วย
เพราะไม่ว่าคุณจะเลือกสนับสนุนฝ่ายใด ถือธงใด คุณก็มีเหตุผลสนับสนุนการกระทำของตนเอง แต่ก็ต้องน้อมรับแรงต้านจากอีกฝั่งหนึ่งด้วย
ซึ่งการที่เรื่องนี้มีความวุ่นวายเกิดขึ้นตามโลกออนไลน์จนเห็นการเลือกข้างชัดเจน นั่นก็เพราะว่ามีประชาชนของเราเสียชีวิตจากเหตุการณ์นั้น
ขึ้นอยู่กับว่าคุณจะมองปาเลสไตน์ ว่าเท่ากับ หรือ ไม่เท่ากับ กลุ่มก่อความรุนแรงนั้น
และ คุณมองเรื่องการเสียชีวิตของเพื่อนร่วมชาตินับสิบๆ รายอย่างไร
รวมทั้งคุณได้มองว่า อิสราเอล เท่ากับ ผู้สูญเสีย หรือ ผู้กระทำ หรือ เป็นทั้งสองอย่าง
นี่แหละคือสิ่งที่เรียกกันว่ามุมมอง และ ความเชื่อ