“ผมเป็นขา ส่วนพีเดอร์เป็นหัว แล้วถ้าผมวิ่งเร็วเกินไป พีเดอร์จะคอยเตือนว่า ‘เฮ้ ช้าลงหน่อย เรายังมีเวลา’
เขามักจะคอยเตือนให้ผมดื่มน้ำจากการสังเกตด้วยตัวเขาเอง เมื่อผมคือดั่งรถยนต์ พีเดอร์ก็คือคนคอยควบคุมมัน”
แม้วิทยาศาสตร์จะไม่รับรอง 100% ว่าพี่น้องฝาแฝดจะมีความรักกับความผูกพันกันมากกว่าคู่พี่น้องปกติ
แต่หลายต่อหลายครั้งที่เรามักเคยได้รับรู้ว่าฝาแฝดสามารถสื่อจิตกันได้ โดยเฉพาะในยามทุกข์
เมื่อปี 1980 ณ เมืองโคเปนเฮเกน คนในตระกูลมอนโรรูปกำลังตื่นเต้นท่ามกลางความกังวลใจกับการมาของพี่น้องฝาแฝดที่ลืมตาออกมาดูโลก
เพียงแต่ว่าความกังวลของพวกเขากลายเป็นจริงขึ้นมา เมื่อการคลอดก่อนกำหนด 3 เดือน ส่งผลทำให้ พีเดอร์ คลอดออกมาในลักษณะที่เกิดการขาดออกซิเจน และ มีน้ำหนักตัวเพียง 1,200 กรัม ในขณะที่ สตีน ที่น้ำหนักตัวไล่เรี่ยกันออกมาเป็นปกติดี
นับตั้งแต่นั้น พีเดอร์ ก็กลายคนพิการ และ ต้องนั่งรถวีลแชร์ตลอดเวลา ส่วน สตีน ใช้ชีวิตได้ตามปกติ แถมยังเป็นนักกีฬาที่ร่างกายแข็งแรง
ปี 2008 สตีน ได้บังเอิญไปเจอกับวิดีโอการแข่งไตรกีฬาของ พันโท ดิก ฮอยท์ นายทหารปลดระวางที่พาลูกชายผู้พิการทางสมองลงแข่งกีฬาสุดโหดนั้น
พ่อลูกสามารถจบการแข่งมนุษย์เหล็กที่ต้องว่ายน้ำ 3.8 กิโลเมตร ปั่นจักรยาน 180 กิโลเมตร และ วิ่ง 42.2 กิโลเมตร ได้อย่างน่าชื่นใจ
ซึ่งนั่นคือแรงบันดาลใจที่ทำให้ สตีน เข้าสู่วงการไตรกีฬาจนสามารถแข่งจบได้สบายๆ พร้อมกับแอบฝึกหนักกว่านักไตรกีฬาปกติจนมั่นใจ
เขาจึงพกพาความฝันด้วยการกลับบ้านเพื่อไปชักชวน พีเดอร์ ให้มาลงแข่งกีฬานี้ด้วยกันในอีก 5 ปีต่อมา
จากนั้นชีวิตใหม่ของ พีเดอร์ ก็เกิดขึ้นตอนมีวัย 35 ปี
“นั่นเป็นครั้งแรกในชีวิตที่ผมรู้สึกได้ว่าผู้คนไม่ได้มองผมในฐานะคนพิการ แต่กลับมองว่าผมเป็นนักวิ่ง
นั่นจึงทำให้ผมมีอัตลักษณ์ใหม่ และ สร้างพื้นที่ที่ผมสามารถเป็นอิสระจากความพิการ”
แม้ในช่วงแรกๆ สองพี่น้องจะไม่จบด้วยการเข้าเส้นชัย แต่ทั้งคู่ไม่เคยหยุดความรักสามัคคีที่จะเอาชนะเป้าหมาย
ในปีต่อมา พีเดอร์ กับ สตีน สามารถเข้าเส้นชัยภายในกำหนดเวลา 16 ชั่วโมงได้ในที่สุด
จากวันนั้นจนถึงวันนี้ สองพี่น้องเข้าเส้นชัยเกิน 40 รายการไปแล้ว และ ยังเดินหน้าก้าวใหม่ที่ใหญ่กว่าเดิมด้วยการเป็นผู้ก่อร่างความฝันใหม่สำหรับผู้พิการทุกคนรวมทั้งครอบครัวของพวกเขาในปี 2014
สองพี่น้องเผยแพร่ความมุ่งมั่นจนได้รับการตอบรับจากคนอื่นๆ จนมีผู้ติดตามเกือบครึ่งแสนคน พร้อมยอดไลค์นับล้านทางโลกออนไลน์ผ่านการก่อตั้งสมาคมชื่อ Team Tvilling (Team Twin)
เมืองโคเปนเฮเกน จึงได้จัดการแข่งขัน โคเปนเฮเกนมาราธอน ในฤดูใบไม้ผลิ กับ โคเปนเฮเกนฮาล์ฟมาราธอน ในฤดูใบไม้ร่วง ปีละ 2 ครั้ง
พีเดอร์ กล่าวให้กำลังใจนักแข่งทุกครอบครัวว่า “ผมรู้ว่าทุกคนเหนื่อย และ เมื่อตื่นนอนมาในเช้าวันอาทิตย์ ผมก็รู้สึกเหมือนทุกคนว่าฉันไม่อยากตื่นขึ้นมาอีกเลย
แต่เมื่อตื่นขึ้นในเช้าวันถัดมา ผมก็ยิ้มให้ตัวเองว่า ฉันอยากให้ถึงวันแข่งอีกครั้งหนึ่งจังเลย เพราะรอยยิ้ม และ ความสุขของพวกคุณคือพลังใจของผมในทุกๆ วัน”