Link Copied!

ซีเกมส์รำลึก

ในยุค80s ฟุตบอลย่านอาเซียน เคยมีเรื่องเล่าในตำนานของ “จตุรเทพแห่งวงการฟุตบอล ” อันประกอบไปด้วยยอดกองหน้าของทีมชาติ 4 คน จาก 4 ชาติ

ฟานดี อาหมัด กองหน้าสิงคโปร์ 

ดอลลาห์ ซาเลห์ กองหน้าเสือเหลือง

ปิยะพงษ์ ผิว อ่อน กองหน้าชาวไทย

และ ริกกี ยาค็อบ กองหน้าชาวชวา

ริกกี ยาค็อบ หรือ ริกกี ยาโคบี ทีมีการเปลี่ยนแปลงนามสกุล ไปตามความเชื่อของเจ้าตัวในภายหลัง คือ หนึ่งในกองหน้าที่โดดเด่น ในยุคสมัยนั้น

เขารับใช้เยาวชนทีมชาติอินโดนีเซีย มาตั้งแต่รุ่น 16 ปี จนก้าวขึ้นมาติดทีมชาติชุดใหญ่ในที่สุด

สำหรับชาวอินโดนีเซีย ในยุคนั้น ริกกี ยาค็อป ถูกเรียกขานว่า พอล มาริเนอร์ แห่งอินโดนีเซีย ตามความละม้ายในสไตล์ การเล่นระหว่างเขากับกองหน้าชื่อดังทีมชาติอังกฤษ เขาเก่งมากในเรื่องลูกกลางอากาศ และ ถูกยกย่องความคมในการยิงประตู

::

หลังจากแจ้งเกิดในลีกภายในประเทศได้แบบไม่มีใครกังขา ริกกี ยาค็อป มีส่วนช่วยพาทีมชาติอินโดนีเซีย เข้าไปถึงรอบรองชนะเลิศ ฟุตบอล เอเชีย นเกมส์ ปี 1986 แต่ไปแพ้ทีมชาติ เกาหลีใต้ ในรอบรอง และ แพ้ทีมชาติ คูเวตในรอบชิงอันดับ สามอย่างน่าเสียดาย

ปี 1987 คือปีทองของเขา และ ของทีมชาติ อินโดนีเซีย เมื่อสามารถคว้าเหรียญทอง กีฬาฟุตบอล ได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสต ร์ ณ สนามเสนายัน อันเป็นสนามกีฬา แห่งชาติของประเทศ

แล้วในอีกหนึ่งปีต่อมา จุดสูงสุด ในชีวิตของตำนานกองหน้าที่เป็นต้นแบบให้ผู้เล่นรุ่นต่อๆ มาก็ดำเนินมาถึง เมื่อสโมสรมัตซึชิดะ หรือ กัมบะ โอซากา ในปัจจุบัน ได้มาคว้าตัวเขาไปร่วมทีม ตอนนั้น ริกกี คือซูเปอร์ สตาร์ ของอาเซียน ข่าวที่อินโดนีเซีย จึงฮือฮามากๆ สำหรับการย้ายตัวในครั้ง นั้น

แต่ด้วยปัญหาต่่างๆ นานา ที่นักเตะย่านนี้หลายคนเคยประสบพบเจอในยามออกไปเล่นในลีกต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นความแตกต่าง ของลีกที่ค่อนข้างเป็นอาชีพมากกว่า เดิม, ปัญหา ทางวัฒนธรรม, ปัญหา ด้านภาษา, ปัญหา เรื่องข้าวปลาอาหาร, อาการคิดถึงบ้าน 

ริกกี เล่นอยู่ที่นั่นได้ไม่ถึงครึ่งฤดูกาล นักเตะที่มีพื้นเพเรื่องสภาพอากาศ ใกล้เส้นศูนย์สูตร ก็ต้องยอมแพ้สภาพอากาศ ของเมืองโอซากา พร้อมฝากผลงานเอาไว้ที่ ลงสนาม 4 นัด ยิง 1 ประตู แล้วกลับมาเล่นฟุตบอล ในสภาพแวดล้อมที่คุ้นเคยอีกครั้ง จนกระทั่ง ปี 1996 เขาจึงแขวนสตั๊ด ไปด้วยวัย 33 ปี

::

แม้จะเลิกเล่น ฟุตบอล ไปแล้ว แต่ ริกกี ก็ยังคงวนเวียนอยู่กับแมตช์ พิเศษให้อฟนๆ ได้หายคิดถึง แล้วเขาก็ยังได้เปิดโรงเรียน สอนฟุตบอล สำหรับ เยาวชนที่มีชื่อเสียงมากๆ และ ใช้ชีวิตในระดับตำนานคล้ายๆ กับเพชรฆาต หน้าหยกชาวไทย ที่เป็นเพื่อนร่วมยุคสมัย เดียวกัน

หากสนามเสนายันคือสนามศักดิ์ สิทธิ์ ของชาวอินโดนีเซีย การคว้าเหรียญทอง ที่สนามแห่งนี้จึงเป็นเกียรติ เป็นศรีแก่นักกีฬาทุกคน

สำหรับ ริกกี ยาค็อบ เขาลงรับใช้ชาติ ณ สนามแห่งนี้มาหลายครั้งจนเป็นตำนาน เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ปีื 2020 เขาลงเล่นฟุตบอล การกุศลในแมตช์ ของอดีตทีมชาติ พบ ทีมผู้สื่อข่าว และ ยิงประตู ได้ในนาทีที่ 15

ในขณะที่กำลังดีใจกับเพื่อนร่วมทีม ร่างของเขาค่อยๆ ทรุดลงบนพื้นสนามเสนายัน และ หมดสติลงไป หลายคนพยายามช่วยเหลือ รถพยาบาลมาถึงภายในเวลาไม่นาน และ นำพาร่างที่หมดสติของเขาไปรักษาตัว

เมื่อถึงโรงพยาบาลทหารเรือ Mintohardjo ที่อยู่ใกล้ที่สุด แพทย์ ผู้ให้การรักษาแจ้งให้ทุกคนได้ทราบว่า

ริกกี ยาค็อบ เสียชีวิตตั้งแต่นอนนิ่งหลังยิงประตู สั่งลาอยู่บนพื้นของสนามกีฬา เสนายันแล้ว

ถ้าจะย้อนนึกถึงคำพูดของ สตีเวน เจอร์ราร์ด ที่เคยบอกว่า ถ้าเขาตาย อย่านำเขาไปฝังที่สุสาน แต่จงฝังเขาเอาไว้ที่แอนฟิลด์

ริกกี ยาค็อบ ก็เช่นกัน ที่สุดท้ายลมหายใจเข้าออกของเขาที่เป็นฟุตบอล มาตลอดชีวิต ก็ถูกใช้บนพื้นสนามที่เขาภาคภูมิใจ แห่งนี้

ขอให้สุข และ สงบ ตลอดไปนะคะ

อัพเดตเรื่องราวเกี่ยวกับกีฬา ติดตาม PlayNowThailand.com ที่เฟสบุ๊คทวิตเตอร์ และอินสตาแกรม

Total
0
Shares