Link Copied!
ฟุตบอลโลก 1966

ฮีโร่ที่ถูกลืม : “เกาหลีเหนือ” ในฟุตบอลโลก 1966

เรื่องราวของทีมชาติ “เกาหลีเหนือ” ในฟุตบอลโลกปี 1966 จากชาติที่ไม่เป็นที่ต้อนรับในประชาคมโลกสู่การเดินทางของนักฟุตบอล “เกาหลีเหนือ” ที่จับใจคนทั้งโลก

หลายคนบอกว่า ซน ฮึน-มิน กำลังอยู่ในเส้นทางของการก้าวขึ้นมาเป็นนักฟุตบอลเอเชียที่ดีที่สุดตลอดกาล ความสำเร็จของกองหน้าชาวเกาหลีใต้นั้น เป็นผลพวงมาจากการบุกเบิกของนักบอลชาวเอเชียมากหน้าหลาย ตา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแจ้งเกิดในฟุตบอลโลก เมื่อหลายสิบปีก่อนหน้า ทีมชาติ “เกาหลีเหนือ” หอบรองเท้า สตั๊ดข้ามน้ำข้ามทะเล เอาชนะอุปสรรคต่างๆ ทั้งภาษา สภาพอากาศ และการเมืองของประเทศ โดยมีหมุดหมาย สำคัญที่ฟุตบอลโลกปี 1966 ซึ่งประเทศอังกฤษเป็นเจ้าภาพ

ในปี 1966 เกาหลีเหนือกลายเป็นชาติที่ 3 จากเอเชียที่ได้ลงแข่งในฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย ถัดจากดัชต์-อิสต์ อินดีส์ ที่ตอนนี้เป็นอินโดนีเซีย ในปี 1938 และเกาหลีใต้ในปี 1954 เรื่องราวการไปฟุตบอลโลกที่อังกฤษของ เกาหลีเหนือเริ่มต้นจากตอนที่ พวกเขาเอาชนะออสเตรเลีย 9-2 ประตูในรอบคัดเลือก เป็นตัวแทนเอเชียไปชิง ถ้วยฟุตบอลที่ยิ่งใหญ่ที่สุด แต่เพราะเหตุบ้านการเมืองที่ไม่ปกติ ประกอบกับอังกฤษเสียทหารในสงครามเกาหลี ที่จบลง 13 ปีก่อนไปมากกว่า 1,000 คน สงครามเย็นที่ยังคุกรุ่น จึงมีความพยายามไม่ให้เกาหลีเหนือเดินทาง มาแข่งขันได้

ทางการอังกฤษมีการพิจารณาที่จะไม่ออกวีซ่าให้นักฟุตบอล และทีมงานจากเกาหลีเหนือเดินทางมายังสหราช-อาณาจักร เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาด้านการทูตกับเกาหลีใต้ รวมทั้งปัญหากับสหรัฐอเมริกา เรื่องราวล่าช้า คาราคาซัง จนก่อนหน้าการแข่งขันไม่กี่เดือน ฟีฟ่าก็เข้าแทรกแซงโดยบอกกับทางสมาคมฟุตบอลอังกฤษว่า ถ้าทีมใดทีมหนึ่งที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายถูกปฏิเสธวีซ่า จะมีการเปลี่ยนชาติเจ้าภาพ และนั่นจะเป็นหายนะของสมาคมฟุตบอลอังกฤษ คำเตือนกึ่งข่มขู่ของฟีฟ่าได้ผล ทำให้อังกฤษอนุญาตให้เกาหลีเหนือเดินทางเข้ามาทำการแข่งขันได้

ชาติเกิดใหม่ที่หลายคนไม่ยอมรับถูกจับสลากให้อยู่ในกลุ่ม D ซึ่งจะลงสนามแข่งขันกันที่ซันเดอร์แลนด์ และมิดเดิลสโบรห์เป็นหลัก หลังจากลงเครื่องบินที่ลอนดอน นักบอลโสมแดงก็เดินทางโดยรถไฟเพื่อไปเก็บตัวที่มิดเดิลสโบรห์ พวกเขาร้องเพลงปลุกใจดังลั่นไปตลอดทาง ทำเอาผู้ดีอังกฤษแตกตื่นไปทั้งขบวน ถ้าหากว่า ชาวเอเชียเหล่านั้น ดูแปลกประหลาดในสายตาชาวตะวันตกแล้ว ความรู้สึกของนักฟุตบอลโสมแดงก็คงไม่ต่าง กัน การต้องออกจากประเทศซึ่งเพิ่งผ่านสงคราม และถูกปิดกั้นทุกทางมายังต่างบ้านต่างเมืองต่างภาษา ไม่ใช่ เรื่องง่ายนักที่จะปรับตัวเช่นกัน

ส่วนสูงเฉลี่ยของผู้เล่นเกาหลีเหนือในคราวนั้นอยู่ที่ 5 ฟุต 5 นิ้ว ด้วยความที่มีมารยาทดี มีการมอบของขวัญของ เจ้าเมืองมิดเดิลสโบรห์เมื่อไปถึง ประกอบกับมีอารมณ์ขัน แถมยังลงเล่นในชุดสีแดงเหมือนกับมิดเดิลสโบรห์ ชาวเมืองต่างเริ่มเอาใจช่วยทีมโสมแดง เมื่อทีมลงซ้อมกันที่สนามซ้อมใกล้ๆ กับโรงงานเคมีที่มีคนทำงานกว่า 30,000 คน ก็สามารถดึงดูดผู้ชมกลุ่มใหญ่ให้มาดูการฝึกซ้อม และต้องประหลาดใจกับความสามารถ รวมทั้งความตั้งใจที่จะเล่นเกมรุกแบบบุกไม่ห่วงหลัง

นัดแรกที่ลงสนาม เกาหลีเหนือแพ้ให้สหภาพโซเวียตไป 3-0 ประตู เกมต่อมาต้องลงสนามพบกับชิลี และ ปาร์ค ซึง-ซิน ก็เป็นนักฟุตบอลคนแรกที่ของเอเชียที่ยิงประตูได้ในฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย จบเกมเสมอกันไป 1-1 ประตู ผู้บรรยายเกมทางบีบีซีบอกว่าตอนที่เกาหลีเหนือยิงประตูได้ เสียงเชียร์ดังมาก เรียกว่าดังกว่าตอนที่เชียร์มิดเดิลสโบรห์เสียอีก 

แล้วก็มาถึงเกมนัดสุดท้ายในรอบแบ่งกลุ่ม นัดตัดสินชะตากับอิตาลี หนึ่งในทีมตัวเต็งของทัวร์นาเมนต์ เล่นกันที่สนามแอร์ซัม พาร์ค สนามเหย้าของมิดเดิลสโบรห์ในตอนนั้น แฟนบอลเดินทางไปสนามเพื่อดูฟอร์มของขุนพลอัสซูรี แต่กลับผิดคาด แจ็คผู้ฆ่ายักษ์เกิดขึ้นต่อหน้าคนดูเมืองผู้ดี ปาร์ค ดู-อิค ยิงประตูชัย ช่วยเกาหลีเหนือเอาชนะอิตาลี 1-0 ประตู เป็นชาติแรกจากเอเชียที่ผ่านเข้าสู่รอบ 8 ทีมสุดท้ายฟุตบอลโลก กลายเป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่น่าจดจำมากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ฟุตบอลโลก

ปาร์ค ดู-อิค ไม่ได้เป็นนักฟุตบอลอาชีพที่เกาหลีเหนือ เขารับใช้ชาติด้วยการเป็นทหาร ทำงานในโรงงาน และเป็นหมอฟัน ชาวอิตาเลียนเรียกเขาว่า “The Dentist” เพราะเขาทำให้ชาวเมืองมักกะโรนีเจ็บปวด และไม่มีใครชอบหมอฟัน สื่ออังกฤษพูดถึงลูกยิงดับฝันอิตาลีของ ปาร์ค ดู-อิค ไว้ว่า “ปาร์ค ดู-อิค จุดระเบิดหนึ่งในลูกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ฟุตบอลโลก” ซึ่งเจ้าตัวบอกว่า “ตอนที่ผมยิงประตูนั้น ชาวมิดเดิลสโบรห์รับเราไว้ในหัวใจ ผมเรียนรู้เลยว่าการเล่นฟุตบอลนั้นสามารถพัฒนาด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และช่วยให้เกิดสันติภาพได้” 

Read More

ไม่ใช่คอนเทนท์! ‘บัวขาว’ ชนะแต้ม ‘แสนชัย’ สมศักดิ์ศรี

Read More

จับตา​อนาคต​ 10​ แข้งดังใกล้หมดสัญญา

Read More

เดือดส่งท้ายเลกแรก! “ราชันมังกร” จะหยุด “ปราสาท” ได้หรือไม่?

Read More

สเปน : แชมป์โลกทีมเดียวที่แพ้นัดประเดิมสนาม

ในรอบน็อกเอาต์ เกาหลีเหนือต้องพบกับโปรตุเกส ที่นำทีมโดยยูเซบิโอ ชาวมิดเดิลสโบรห์หลายพันคนเดินทางไปชมเกมที่กูดิสัน พาร์ค เพื่อเอาใจช่วยเพื่อนชาวเอเชียของพวกเขา แล้วทีมพลังโสมก็ขึ้นนำโปรตุเกสไปก่อน 3-0 ประตู หรือว่า จะมีเหตุการณ์ล้มยักษ์เกิดขึ้นอีกรอบ แต่เมื่อหมดเวลา กลับเป็นทีมดังจากยุโรปที่แซงเอาชนะไป 3-5 ประตู ฝันของเกาหลีเหนือดับสลาย แต่พวกเขาเป็นฮีโร่ในใจของหลายๆ คน วันนั้นผู้บรรยายเกมบอกว่า ทีมชาติเกาหลีเหนือทุ่มเทจนหมดใจ 

เมื่อเดินทางกลับไปยังประเทศแม่ พวกเขาได้รับการต้อนรับเหมือนวีรบุรุษ ปาร์ค ดู-อิค เป็นหนึ่งในนักฟุตบอลที่ได้รางวัลสูงสุดทางด้านกีฬาของประเทศ แต่ชีวิตแสนหวานอยู่กับนักฟุตบอลชุดนี้ไม่นานนัก การเมืองเข้ามามีบทบาทอีกครั้ง นักฟุตบอลหลายคนถูกมองว่าฝักใฝ่ชาติตะวันตก ขัดแย้งต่อหลักการของประเทศ พร้อมถูกลงโทษเพราะก่ออาชญากรรมเนื่องจากทำทีมแพ้หลังจากขึ้นนำโปรตุเกสถึง 3 ประตู หลายคนถูกส่งไปค่ายแรงงาน เรียกว่าเข้ารับการปรับทัศนคติตามแบบเกาหลีเหนือ

ดีเรค ฮอจด์สัน นักข่าวที่ทำข่าวฟุตบอลโลกในปี 1966 พูดถึงเกาหลีเหนือว่า “นักประวัติศาสตร์ชาวเกาหลีควรจะบันทึกไว้ว่ามันเป็นช่วงเวลาถือกำเนิดของการเป็นชาตินักฟุตบอลของพวกเขา” ทุกวันนี้ที่สนามเหย้าเก่าของมิดเดิลสโบรห์ซึ่งถูกปรับเปลี่ยนเป็นที่พักอาศัย บริเวณสนามหญ้าตรงจุดเดียวกับที่ปาร์ค ดู-อิค ยิงประตูชัยเอาชนะอิตาลี มีอนุสรณ์เล็กๆ ทำจากทองแดงเป็นรูปรองเท้าฟุตบอลวางอยู่ เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ดังกล่าว

อัพเดตเรื่องราวเกี่ยวกับกีฬา ติดตาม PlayNowThailand.com ที่เฟสบุ๊ค, ทวิตเตอร์ และอินสตาแกรม

Total
0
Shares